วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

แชร์ลูกโซ่กับขายตรงต่างกันตรงไหน?



กระแสของแชร์ลูกโซ่ช่วงนี้มาแรงมากๆ แรงจนกลบเกลือนแง่มุมดีๆของธุรกิจเครือข่ายขายตรงจนถึงกับเงิบไปเลยทีเดียว และบางคนที่มีเชื้อไม่ชอบขายตรงอยู่แล้วกลับเหมารวมว่าแชร์ลูกโซ่กับขายตรงคือ เรื่องเดียวกัน วันนี้ผมจะมาไขความกระจ่างเปรียบเทียบกันระหว่าง แชร์ลูกโซ่กับธุรกิจขายตรงแบบถูกกฎหมาย ช๊อตต่อช๊อตกันเลยนะครับ

ธุรกิจเครือข่ายขายตรงถูกกฏหมาย ?


  • จดทะเบียนกับสคบ.ถูกต้องตามกฏหมย เช็คได้ที่นี้
  • บริษัทมีตัวตนจริง / มีอาคารสถานที่มั่งคงถาวร(ไม่ใช่การเช่าชั่วคราวเพื่อพร้อมปิด) / เปิดดำเนินการมานานพอสมควร 3-5 ปีขึ้นไป
  • มีผลิตภัณฑ์ชัดเจนและราคาสมเหตุสมผลไม่แพงจนเกินไป
  • เน้นการซื้อขายกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคและการซื้อซ้ำ
  • รายได้ของนักธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากกำไรค้าปลีกและการบริโภคซ้ำของเครือข่ายผู้บริโภค
  • เติบโตสมเหตุสมผลไม่หวือหวาจนน่าสงสัย


ธุรกิจแชร์ลูกโซ่

  • ไม่ได้จดทะเบียนถูกต้องกับสคบ.
  • บริษัทไม่มีตัวตน / เช่าอาคารชั่วคราวในสภาพพร้อมปิดหนี อาจมีการอ้างว่าบริษัทแม่ที่เมืองนอกกำลังดำเนินการเพื่อมาเปิดดำเนินการในไทย / เปิดดำเนินการมาได้ไม่นานนัก
  • มีผลิตภัณฑ์ไม่ชัดเจน หรืออาจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บัตรสมาชิก,การบริการ ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้เจ้าของบริษัทที่ตั้งใจจะหลอกลวงหลบหลีกได้ง่าย
  • ตั้งราคาผลิตภัณฑ์สูงเกินไปจนผิดปกติ
  • เน้นการหาสมาชิกใหม่ๆ และต้องลงทุนสูง เพื่อนำเงินมาจ่ายคนเก่าที่ชวนกันมา
  • รายได้เกิดจากการขายฝันแบบเกินความจริง และหลอกให้คนใหม่มาลงทุนด้วยความโลภ
  • เติบโตเร็วจนผิดปกติ
เมื่อเข้าใจข้อเปรียบเทียบระหว่างแชร์ลูกโซ่และขายตรงแบบถูกกฎหมายคร่าวๆแบบนี้แล้ว ต่อไปนี้เราคงตัดสินใจที่จะทำธุรกิจขายตรงอย่างเชื่อมั่นและยิ่งมองเห็นมุมดีๆของขายตรงมากขึ้น ผมมักคิดอยู่เสมอว่าขายตรงมีหลักการและปรัชญาที่ยอดเยี่ยมากๆแต่ปัญหา คือ คนจะนำมาใช้ประโยชน์แบบไหน ถ้าดีก็ดีไปแต่ถ้านำมาหลอกลวงคนอื่นผมถือว่าเป็นอาชญากรรมนะครับ ไม่ใช่ขายตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น